คำลักษณะนาม
เรือ ๑ ลำ ลอยละล่องอยู่ในคลองหน้าบ้าน คุณพ่อมีแว่นตา ๔ อัน บ้านหลังนั้นไม่มีคนอยู่ โดยมีตัวอย่าง คำลักษณะนามควรรู้ที่พอจะรวบรวมได้มาให้ศึกษาโดยแยกตามหมวดหมู่ดังนี้
พระองค์ ผู้ที่นับถืออย่างสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระราชา เทวดาที่เป็นใหญ่ เจ้านายชั้นสูง องค์ เจ้านาย เทวดา (คงจะตำแหน่งน้อยกว่าเทวดาด้านบนนิดหนึ่ง) สิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า พระราชา หรือเจ้านาย คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน หรือเครื่องใช้สอย รูป ภิกษุ สามเณร นักพรตต่างๆ ชีปะขาว ชี ตน ยักษ์ ภูตผีปีศาจ นักสิทธิ์ เช่น ฤๅษี วิทยาธร คน มนุษย์สามัญทั่วไป ตัว สัตว์เดียรัจฉาน สิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ตะปู ว่าว ตุ๊กตา ใบ ภาชนะทั้งปวง ลูกไม้ ใบไม้ เรื่อง เรื่องราว ข้อความ คดีต่างๆ สิ่ง,อัน สิ่งของ หรือกิจการที่เป็นสามัญทั่วไป เลา ปี่ ขลุ่ย เชือก ช้างบ้าน (ช้างป่าจะเรียกเป็นตัว หรือ ถ้าเยอะๆ จะเรียกเป็นโขลง ค่ะ) เรือน นาฬิกา เล่ม สุมด หนังสือ เกวียน เทียน เข็ม กรรไกร สิ่ว ศัสตรา (อาวุธ) ต่างๆ เต้า แคน (เครื่องดนตรี)
กอง ทัพ ทหาร คนทำงานรวมกัน ของที่รวมกันไว้ อิฐ ทราย พวก,เหล่า คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกัน และมีลักษณะอย่างเดียวกัน หมวด คน สัตว์ สิ่งของ ที่แยกรวมกันไว้ หมู่ คน สัตว์ สิ่งของ ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ฝูง สัตว์พวกเดียวกันที่ไปด้วยกันเป็นพวกๆ หรือคนมากๆ ก็ใช้ คณะ คนที่อยู่ในสำนักหนึ่ง หรือในที่ทำการอย่างหนึ่ง หรือในปกครองรวมกัน นิกาย นักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวกๆ สำรับ,ชุด คน หรือสิ่งของที่มีครบตามอัตรา โรง ผู้คนที่เล่นมหรสพที่มีโรงเล่น เช่น ละคร โขน หนัง วง คนชุดหนึ่งที่ล้อมวงกัน เช่น เตะตะกร้อ เล่นดนตรี เล่นเพลง สักวา ตับ ของที่ทำให้ติดกันเรียงกันเป็นพืด เช่น พลู จาก ปลาย่าง
วง ของที่มีรูปเป็นวง เช่น แหวน กำไล หลัง ของที่มีรูปเป็นหลังคา เช่น เรือน บ้าน ตึก มุ้ง กูบ ประทุน เก๋ง บุษบก แผ่น ของที่มีรูปแบนๆ เช่น กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ ผืน ของที่มีรูปแบนกว้างใหญ่ เช่น ผ้า เสื่อ พรม แถบ ของที่แบน บาง แคบ แต่ยาว เช่น ผ้าแคบๆ แต่ยาว (คงจะประมาณ ผ้าแถบ น่ะค่ะ) บาน ของที่เป็นแผ่นมีกรอบ เช่น ประตู หน้าต่าง กระจกเงา กรอบรูป ลูก ของที่มีรูปทรงกลมๆ หรือค่อนข้างกลม เช่น ลูกไม้ ลูกหิน หรือ ไต้ที่ใช้จุดไฟ ก็ใช้ได้ แท่ง ของทึบหนามีรูปยาวๆ เช่น เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ ก้อน ของที่มีรูปเป็นก้อน เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน อิฐแตกๆ ขนมปัง (ที่ไม่เป็นแผ่น) คัน ของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก รูปยาวๆ เช่น ฉัตร กระสุน รถ ร่ม ธนู หน้าไม้ ช้อนส้อม ซอ เบ็ด (ที่มีคัน) แร้ว ไถ ต้น ของที่เป็นลำต้นเป็นต้นไม้ เช่น ต้นไม้ เสา ซุง ลำ ของกลมยาวมีปล้องคั่น เช่น ไม้ไผ่ อ้อย และเรือ ดวง ของที่เป็นรอยกลมๆ เช่น รอยด่าง ตราต่างๆ ของที่มีแสง ตะวัน(ดวงอาทิตย์ เดือน (ดวงจันทร์) ดาว ไฟ และจิตวิญญาณ กระบอก ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ปล้องไม้ไผ่ ข้าวหลาม พลุ ปืน เส้น ของที่เป็นเส้นเล็กยาว เช่น เชือก ด้าย ลวด ปาก เครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง เช่น แห อวน สวิง โพงพาง ปื้น ของที่แบนกว้างเป็นพืดยาว เช่น ตอกที่กว้าง เลื่อย ซี่ ของเส้นยาว ตั้งเรียงกันเป็นแถว เช่น ซี่กรง ซี่ฟัน
คู่ ของที่มีชุดละ ๒ สิ่ง เช่น รองเท้า ถุงเท้า ช้อนกับส้อม เชิงเทียน แจกัน โหล ของที่รวมกัน ๑๒ สิ่ง กุลี ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน ชื่อมาตราต่างๆ เช่น ของที่ใช้วัด ตวง ชั่ง เวลา และเงิน เช่น โยชน์ - เส้นทาง / ชั่ง เฟื้อง สลึง ตำลึงบาท หรือชื่อสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก ชื่อภาชนะต่างๆ เช่น ตุ่ม ไห
จีบของที่จีบ เช่น พลู มวน ของที่มวน เช่น บุหรี่ มัด ของที่มัด เช่น ฟืน ม้วน ของที่ม้วนไว้ เช่น ยาสูบ ยาจืด กระดาษ (ที่ม้วนไว้) กำ,ฟ่อน ของที่ทำเป็นกำ ฟ่อน เช่น หญ้า ผัก กลุ่ม ของที่กำเป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ไหมพรม ในปัจจุบัน คำลักษณะนามอาจจะมีเพิ่มขึ้นมาอีกหลายคำ เนื่องจากมีวิทยาการและศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกมากมาย ส่วนมากจะเป็นลักษณะนามที่ซ้ำชื่อ เช่น โครงการ ๓ โครงการ, แผนพัฒนา แผนที่ ๒ นอกจากนี้คำลักษณะนามบางคำ ผู้ใช้บางคนก็มักจะใช้คำพูดที่ติดปากอยู่ เช่น เรียกพระภิกษุ เป็น องค์ เรียกช้าง เป็น ตัว เรียกสิ่งของต่างๆ เป็น อัน ชิ้น กันเสียเป็นส่วนมาก.. https://sites.google.com/site/khrucngci/kha-laksna-nam |