<< Go Back

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม  การเมือง และการดำเนินงานในทุกสาขาอาชีพ ทำให้ทึกคนในสังคมต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งคุณและโทษนักเรียนต้องศึกษาเพื่อใช้งานได้อย่างรู้เท่าทัน และสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยในสังคมปัจจุบัน นอกจากนนี้ยังต้องสามารถเลือกและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆ อย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม

เขียนเครื่องหมาย    หน้าข้อความที่ถูกต้อง

ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของนักเรียนเปิดเผยในสื่อสังคมออนไลน์ได้
แชร์รหัสผ่านของอีเมล์ให้เพื่อนสนิทเพื่อป้องกันการลืมรหัสผ่าน
ออกจากระบบเมื่อเลิกใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ

นักเรียนมีวิธีการป้องกันอย่างไรให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย

การใช้งานไอทีโดยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่อยู่ทั่วโลกได้สะดวก และรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันถ้าใช้งานไม่ระมัดระวัง ขาดความรอบคอบอาจก่อให้เกิดปัญหาจากการคุกคามการหลอกลวงผ่านเครือข่ายได้ นอกจากนี้การเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมก็สร้างปัญหาด้านสังคมให้กับเยาวชนจำนวนมาก ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานไอทีได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง



ภัยคุกคามที่มาจากมนุษย์นั้นมีหลากหลายวิธี โดยมีการตั้งแต่การใช้ความรู้ขั้นสูงด้านไอทีไปจนถึงวิธีการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ และความสามารถทางเทคนิคเช่น

  1. การคุกคามโดยใช้หลักจิตวิทยา เป็นการคุกคามที่ใช้การหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญด้านไอที เช่น การใช้กลวิธีในการหลอกเพื่อให้ได้รหัสผ่านหรือส่งข้อมูลที่สำคัญให้ โดยหลอกว่าจะได้รับรางวัลแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนด  แต่ต้องป้องกันได้โดยให้นักเรียนระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลอื่น
  2. การคุกคามด้วยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลและเนื้อหาที่มีอยู่ในแหล่งต่างๆบนอินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากเพราะสามารถสร้าง และเผยแพร่ได้ง่าย ทำให้ข้อมูลอาจไม่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม ดังนั้นข้อมูลบางส่วนอาจก่อให้เกิดปัญหากับนักเรียนได้

ตัวอย่างแหล่งข้อมูลและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงการยุยงให้เกิดความวุ่นวายทางสังคม การพนัน สื่อลามกอนาจาร เนื้อหาหมิ่นประมาท การกระทำที่ผิดต่อกฎหมายและจริยธรรม

ข้อมูลและเนื้อหาเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยากต่อการป้องกัน กรอกข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เพราะข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่มักมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังจะเห็นได้จากการใช้งานแอพพลิเคชั่นเว็บไซต์ และสื่อบางประเภท นอกจากนี้อาจมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติถึงแม้ว่า แอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์นั้นเป็นของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือก็ตาม เช่นเว็บไซต์หน่วยงานราชการ บริษัทชั้นนำ ดังนั้นนักเรียนควรจะใช้วิจารณญาณในการเลือกรับหรือปฏิเสธข้อมูลเหล่านั้น

      3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยใช้โปรแกรมเป็นเครื่องมือสำหรับก่อปัญหาด้านไอที โปรแกรมดังกล่าวเรียกว่า มัลแวร์ (malicious software :  malware) ซึ่งมีหลายประเภทเช่น

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) คำที่เขียนด้วยเจตนาร้าย อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรำคาญหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลหรือระบบ โดยไวรัสคอมพิวเตอร์จะติดมากับไฟล์ และสามารถแพร่กระจายเมื่อมีการเปิดใช้งานไฟล์ เช่น ไอเลิฟยู ( ILOVEYOU),  เมลิสซา (Melissa)

เวิร์ม (worm) หรือที่เรียกกันว่า หนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมอันตรายที่สามารถแพร่กระจายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายได้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีหาจุดอ่อนของระบบรักษาความปลอดภัย แล้วแพร่กระจายไปบนเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง เช่น โค้ดเรด (Code Red)  ที่มีการแพร่ในเครือข่ายเว็บของไมโครซอฟท์ในปี พ. ศ.  2544 ส่งผลให้เครื่องแม่ข่ายทั่วโลกกว่า 2 ล้านเครื่องต้องหยุดให้บริการ

ประตูกล  (Backdoor/t rapdoor) เป็นโปรแกรมที่มีการเปิดช่องโหว่ไว้เพื่อให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าไปคุกคามระบบสารสนเทศ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบเครือข่ายโดยที่ไม่มีใครรับรู้ บริษัทรับจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศบางแห่งอาจจะติดตั้งประตูบนไว้ เพื่อดึงข้อมูลหรือความลับของบริษัทโดยที่ผู้ว่าจ้างไม่ทราบ

ม้าโทรจัน (trojan horse virus) เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะคล้ายโปรแกรมทั่วไปเพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ติดตั้ง และเรียกใช้งาน แต่เมื่อเรียกใช้งานแล้วก็จะเริ่มทำงานเพื่อสร้างปัญหาต่างๆตามผู้เขียนกำหนด เช่นทำรายข้อมูล หรือล้วงข้อมูลที่เป็นความลับ

ระเบิดเวลา  (Logic Bomb)  เป็นโปรแกรมอันตรายที่จะเริ่มทำงาน โดยมีตัวกระตุ้นบางอย่าง หรือกำหนดเงื่อนไขการทำงานบางอย่างขึ้นมา เช่น  App ส่งข้อมูลออกไปยังเครื่องอื่นๆ หรือลบไฟล์ข้อมูลทิ้ง

ปรแกรมดักจับข้อมูลหรือ สปาย์แวร์  (Spyware)  เป็นโปรแกรมที่แอบขโมยข้อมูลของผู้ใช้ระหว่างใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อนำไปใช้ในการโฆษณา เก็บข้อมูลรหัสผ่านเพื่อนำไปใช้ในการโอนเงินออกจากบัญชีผู้ใช้

โปรแกรมโฆษณาหรือแอดแวร์ ( advertising Supported Software : adware) เป็นโปรแกรมที่แสดงโฆษณา หรือดาวน์โหลดโฆษณาอัตโนมัติหลังจากที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งโปรแกรมที่มี แอดแวร์ อยู่ นอกจากนี้แอดแวร์บางตัวอาจจะมี Spyware ที่คอยดักจับข้อมูลของผู้ใช้งานเอาไว้เพื่อส่งโฆษณาที่ตรงกับพฤติกรรมการใช้งาน ทั้งนี้อาจจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งาน เนื่องจากโฆษณาจะส่งมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ

โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomware) เป็นโปรแกรมขัดขวางการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือด้วยการเข้ารหัส จนกว่าผู้ใช้จะจ่ายเงินให้ผู้เรียกค่าไถ่ จึงจะได้รับรหัสผ่านเพื่อที่จะสามารถใช้งานไฟล์นั้นได้ เช่น คริปโตล็อกเกอร์ (CryptoLocke) ในปี พ.ศ. 2556  ที่มีการเผยแพร่กระจายไปทุกประเทศทั่วโลกผ่านไฟล์แนบในอีเมล์ และ วันนาคราย (wannacry) ในปี พ.ศ. 2560 ที่แพร่กระจายได้ด้วยวิธีเดียวกับเวิร์ม

1  การหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง (phishing) มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีวิธีการตรวจสอบและป้องกันอย่างไร
2  หากมีเพื่อนแชร์ข้อมูลของนักเรียนในทางเสียหาย และไม่เป็นความจริงนักเรียนคิดว่ามีผลกระทบกับตัวนักเรียนหรือไม่อย่างไร และนักเรียนจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
3  นักเรียนเห็นเพื่อนนำเสนอข้อมูลของผู้อื่นทางเครือข่ายสังคมออนไลน์และนักเรียนแชร์ต่อโดยไม่ตรวจสอบข้อมูล นักเรียนคิดว่ามีผลกระทบกับตัวนักเรียน  และผู้เสียหายหรือไม่อย่างไร นักเรียนมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร

 

แนวคิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการป้องกันภัยคุกคามด้านไอที คือการตรวจสอบ และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานก่อนการเริ่มต้นใช้งาน การตรวจสอบเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบดังนี้

      
ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้
เป็นการตรวจสอบตัวตนจากสิ่งที่ผู้ใช้งานรู้แต่เพียงผู้เดียว เช่น บัญชีรายชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่านการตรวจสอบวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย และระดับความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับได้หากนักเรียนลืมรหัสผ่าน สามารถติดต่อผู้ดูแลเพื่อขอรหัสผ่านใหม่
ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี
เป็นการตรวจสอบตัวตนจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานต้องมี เช่น บัตรสมาร์ตการ์ด  โทเก้น  อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของอุปกรณ์เพิ่มเติม และมักมีปัญหาคือ ผู้ใช้งานมักลืมหรือทำอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบหาย
ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้
เป็นการตรวจสอบข้อมูลชีวมาตร(biometrics) เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ใบหน้า เสียง การตรวจสอบนี้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแต่มีค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อเปรียบเทียบ กับวิธีอื่น และต้องมีการจัดเก็บลักษณะเฉพาะของบุคคล ซึ่งมีผู้ใช้บางส่วนอาจจะเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว

 นอกจากนั้นอยากมีการคุกคามด้วยโปรแกรมแบบอื่นๆ ซึ่งนักเรียนสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากข่าวไอทีหรือจากอินเตอร์เน็ต

การกำหนดรหัสผ่านเป็นที่การตรวจสอบตัวตนที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากว่าเป็นวิธีที่ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการกำหนดรหัสผ่านให้มีความปลอดภัยมีดังนี้

  • รหัสผ่านควรตั้งให้เป็นไปตามเงื่อนไขของระบบที่ใช้งาน รหัสผ่านที่ควรประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ เช่น Y1nG@# !z  หรือ  @uG25sx*
  • หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านโดยใช้วัน เดือน ปีเกิด  ชื่อผู้ใช้  ชื่อจังหวัด ชื่อตัวละคร ชื่อสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือคำที่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ตั้งให้จดจำได้ง่าย แต่ยากต่อการคาดเดาด้วยบุคคลหรือโปรแกรม เช่น สร้างความสัมพันธ์ของรหัสผ่านกับข้อความหรือข้อมูลส่วนตัวที่คุ้นเคย เช่น ตั้งชื่อสุนัขตัวแรก แต่เขียนตัวอักษรจากหลังมาหน้า
  • บัญชีรายชื่อผู้ใช้แต่ละระบบ ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะบัญชีที่ใช้เข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น รหัสผ่านของบัตรเอทีเอ็มหลายใบให้ใช้รหัสผ่านต่างกัน
  • ไม่บันทึกรหัสแบบอัตโนมัติบนโปรแกรมบราวเซอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่นหรือเครื่องสาธารณะ
  • ไม่บอกรหัสผ่านของตนเองให้กับผู้อื่นไม่ว่ากรณีใดๆ
  • มันเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำอาจจะทำทุกๆ 3 เดือน
  •  เดือนอีก เดือนหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านใน  เดือนหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านในกระดาษสมุดโน้ตรั้ว เดือนหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านในกระดาษสมุดโน้ตรวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เดือนหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านในกระดาษสมุดโน้ตรวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เดือนหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านในกระดาษสมุดโน้ตรวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยหากจำเป็นต้องบันทึกก็ควรจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
  • ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลือกใช้บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต

1  วิเคราะห์และยกตัวอย่างวิธีการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนตัวของ หรือทำลายข้อมูลของนักเรียนพร้อมทั้งระบุวิธีการป้องกัน
2  ตั้งรหัสผ่านของตนเองโดย  8- 12  ตัวอักษร แล้วทดสอบรหัสผ่านที่ตั้งขึ้น กับเว็บไซต์ที่ให้บริการการตรวจสอบ  หากผลลัพธ์ในการตรวจสอบ ได้ระดับน้อยซึ่งเป็นรหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา ให้นักเรียนเปลี่ยนรหัสผ่านและทดลองใหม่จนกว่ารหัสผ่านของนักเรียนจะได้ระดับปานกลาง-มาก
3  ค้นหาและบอกวิธีการอัพเดทระบบปฏิบัติการในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือที่นักเรียนใช้

การใช้งานไอทีเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน อย่างไรก็ตามการใช้งานไอทีอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ดังนั้นการเรียนรู้ การทำความเข้ใจเงื่อนไขการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

1  นักเรียนคิดว่าการติดตั้งโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ  มีขั้นตอนอย่างไร
2  นักเรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งโปรแกรมหรือไม่ อย่างไร
3 นักเรียนได้อ่านเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการใช้โปรแกรม เว็บไซต์หรือไม่ เพราะเหตุใด

    


การใช้งานไอทีในปัจจุบันมีทั้งแบบมีค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ทุกระบบที่ให้บริการมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้งานทั้งสิ้น เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นต่างๆที่ให้บริการจะมีการแจ้งเงื่อนไขการติดตั้งและใช้งานให้ผู้ใช้ทราบก่อนเสมอ อาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการใช้งานซึ่งชำระด้วยเงินหรือต้องกรอกข้อมูลหรือตอบคำถามเป็นการแลกเปลี่ยน ข้อกำหนดที่ต้องรับโฆษณาในช่วงของการใช้งาน การอนุญาตผู้ให้บริการเข้าถึงภาพถ่ายหรือข้อมูลรายชื่อที่อยู่ใน smartphone ของผู้ใช้ ดังนั้นนักเรียนควรอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขก่อนการติดตั้งและใช้งาน

นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าซอฟต์แวร์  ผลงาน หรือสื่อต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในอินเตอร์เน็ต  สามารถนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง

            เงื่อนไขการใช้งาน อาจจะถูกกำหนดด้วยข้อตกลงในลักษณะต่างๆ เช่น

 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื้อหา หรือสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ทำให้ผู้ใช้หรือผู้ซื้อไม่สามารถที่จะนำไปเผยแพร่ ทำสำเนาต่อโดยที่ไม่รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ผลงาน  เช่น ผู้ใช้ที่ซื้อโปรแกรมประยุกต์มาใช้งานส่วนตัว ลิขสิทธิ์ที่ได้คือ การติดตั้งและใช้งานโปรแกรมประยุกต์นั้นได้ แต่ไม่สามารถทำสำเนาและแจกจ่ายให้ผู้อื่นได้

 

           ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภท 1
ลิขสิทธิ์ หมายถึง  สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม

ซึ่งผู้บริโภคต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554) ในขณะที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความหมาย “ลิขสิทธิ์ว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเอง ในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น หน่วยงานที่สร้างสรรค์จะต้องเป็นงานประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน”
     

 

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญาคือ อะไร ให้ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา

การใช้งานไอทีหรืองานต่างๆ ที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองอาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาและปิดโอกาสในการเรียนรู้ องค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์จินตนาสัญญา อนุญาตที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและเผยแพร่ผลงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ แต่ยังคงไว้ซึ่งผลประโยชน์และการรับรู้เจ้าของผลงาน   http://www.creativecommons.org

ข้อกำหนดในการใช้ผลงานต่างๆ จะแทนด้วยสัญลักษณ์ เช่น

หมายถึงสามารถใช้ เผยแพร่ และดัดแปลงได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงาน

หมายถึง  สามารถใช้  เผยแพร่ และดัดแปลงได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา และยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อได้

หมายถึง สามารถใช้ และเผยแพร่ได้ ห้ามดัดแปลง แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา

หมายถึง สามารถใช้ และเผยแพร่ได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

ความเป็นส่วนตัว  (privacy)  เป็นลิขสิทธิ์พื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ เจ้าของสามารถปกป้องและควบคุมการเปิดเผยข้อมูลของตนเองให้กับผู้อื่นและสาธารณะได้ โดยเจ้าของสิทธิ นอกจากจะเป็นบุคคลแล้วอาจเป็นกลุ่มบุคคลหรือองค์กรก็ได้

การเข้าถึงข้อมูลในเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น เว็บไซต์หรือ แอปพลิเคชัน บางตัวที่ติดตามความเคลื่อนไหว หรือพฤติกรรมของผู้ใช้งานเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมสำหรับปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ หรือการวางแผนการตลาด

นอกจากการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวจากผู้อื่นแล้ว ผู้ใช้อาจยินยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเอง เนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตและยากต่อการกลับมาแก้ไข

   นักเรียนจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้อย่างไรบ้าง
  • ใส่ใจให้มากขึ้น ต้องอ่านข้อตกลงและเงื่อนไขให้เข้าใจ  หรือติดตั้งโปรแกรม ว่ามีเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือไม่
  • ตึกตรองให้รอบคอบ ก่อนเปิดเผยข้อมูลและกิจกรรมส่วนตัว หรือแชร์ข้อมูลผู้อื่น ผ่านทางสังคมออนไลน์ ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่า การเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต
              

หากมีอีเมล์ หรือข้อความจากสื่อสังคมออนไลน์ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จักนักเรียนจะทำอย่างไร

การใช้งานไอทีเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานไอทีผ่านสมาร์ทโฟนที่มักมีแอพพลิเคชั่นจำนวนมาก ให้เลือกติดตั้งได้ฟรีภายใต้เงื่อนไขบางประการ ซึ่งหลายคนมักละเลยในการอ่านเงื่อนไขเหล่านี้ การใช้ไอทีอย่างปลอดภัยนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องเข้าใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ศึกษาเงื่อนไขและข้อตกลง ก่อนการติดตั้งหรือใช้งานไอที
  • มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการใช้ไอที เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
  • ไม่ใช่บัญชีผู้ใช้ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ และเสี่ยงต่อการรั่วไหลของรหัสผ่านและข้อมูลส่วนตัว
  • สำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ และเก็บไว้หลายแหล่งโดยเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ไฟล์ข้อมูลเสียหาย เช่น ข้อมูลโดนไวรัสทำลาย เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย สามารถนำข้อมูลที่สำรองไว้มาใช้งานได้
  • ติดตั้งซอฟต์แวร์เท่าที่จำเป็น และไม่ติดตั้งโปรแกรม ที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันมัลแวร์ที่แฝงมากับโปรแกรม
  • เข้าใจกฎ กติกา และมารยาททางสังคมในการใช้งานไอที ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งานไอที เพราะจะช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ  เช่น การเรียนรู้การใช้อักษรย่อ การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่แน่ใจว่าเป็นของหน่วยงานใด
  • ปรับปรุงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่างๆให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น โปรแกรมแก้ไขจุดบกพร่องของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า อัพเดท หรือ   แพทช์ โปรแกรมป้องกันไวรัส ซึ่งโปรแกรมจะมีการเพิ่มเติมความสามารถในการป้องกันไวรัสใหม่ๆ ทำให้อุปกรณ์และข้อมูลใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดจากการใช้งาน เช่น มีโปรแกรมแปลกปลอมปรากฏขึ้นได้รับอีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก หรือเข้าเว็บไซต์ที่คุณเคยแต่มีบางส่วนของ URL  หรือหน้าเว็บที่เปลี่ยนไป ให้ตรวจสอบและหาข้อมูลเพิ่มเติม จนกว่าจะมั่นใจก่อนการใช้งาน
  • ระวังการใช้งานไอทีเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ เช่น ไม่เชื่อมต่อไวไฟโดยอัตโนมัติ ไม่จดจอใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ซึ่งอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

  1. ลักษณะการใช้งานไอทีของนักเรียนนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ เพราะเหตุใด
  2. การติดต่อสื่อสารออนไลน์ ในบางครั้งอาจใช้สัญลักษณ์หรืออักษรย่อที่เป็นสากลแทนการพิมพ์ข้อความ เพื่อการสื่อความหมาย เช่น  LOL  หมายถึงการหัวเราะ นักเรียนหาสัญลักษณ์หรืออักษรย่ออื่นๆที่ใช้ในการสื่อสาร
  3. นักเรียนจะสำรองข้อมูลอย่างไรและควรจะสำรองข้อมูลที่มากน้อยเพียงใด
  4. ถ้าเพื่อนของนักเรียนติดเกมและชอบซื้อของออนไลน์ นักเรียนคิดว่าเป็นพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมหรือไม่ อาการเหล่านี้เรียกว่าอะไร และจะแนะนำเพื่อนอย่างไร

 

การใช้งานไอทีอย่างสร้างสรรค์ คือ การใช้งานไอทีให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพราะไอทีช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นนักเรียนต้องสามารถวิเคราะห์ เนื้อหา และสิ่งต่างๆ ที่ได้รับว่า มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดเพื่อคัดกรองและนำไปใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่า เช่น ใช้ไอทีในการติดตามและรับรู้ข่าวสารต่างๆ รวบรวมและสรุปความรู้ให้กับเพื่อนๆ ผ่าน facebook  ฝึกเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาตนเอง

 

1.  แหล่งข้อมูลและเนื้อหาที่นักเรียนมาเข้าถึงและใช้งานนั้นเป็นข้อมูล หรือเนื้อหาที่สร้างสรรค์หรือไม่ และมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
2. นักเรียนจะนำไอทีไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร

 

จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ตามที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2554 ดังนั้นจริยธรรมด้านไอทีจึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติที่ดีในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับไอที ที่ควบคุมทางการบริหารจัดการ การใช้งาน และการให้บริการด้านไอที
จริยธรรมเป็นหลักการและมาตรฐานที่ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้อื่นเพื่อให้ผู้ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การใช้ไอทีอย่างมีจริยธรรม ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ไม่นำภาพผู้อื่นมาล้อเลียน หรือใช้ข้อความหยาบคาย ไม่ชำเลืองมองหน้าจอภาพผู้อื่นขณะใช้งาน

ยกตัวอย่างการใช้งานไอทีในชีวิตประจำวัน พร้อมอธิบายว่าเป็นการใช้อย่างมีจริยธรรมหรือไม่ ให้อธิบาย

 

 

 

    ให้นักเรียนอภิปรายประเด็นต่อไปนี้

1.การสรุปเนื้อหาของผู้อื่นที่ได้อ่านมาแล้วบอกถึงแหล่งที่มา ถือว่าสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ใช่หรือไม่เพราะเหตุใด
2. การโพสต์ข้อความ รูปถ่าย   และเช็คอินสถานที่ในสื่อสังคมออนไลน์  เช่น  เฟซบุ๊ก  นับ นับว่าเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความเป็นส่วนตัวหรือไม่ เพราะเหตุใด
3  การถ่ายคลิปวีดีโอขณะเพื่อนหลับในชั้นเรียน แล้วนำไปเผยแพร่ใน YouTube ถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ เพราะเหตุใด   
4. ทำไมการละเมิดลิขสิทธิ์จึงถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรม

 


สถานการณ์
สมมุติว่า โทรศัพท์มือถือของนักเรียนหายให้นักเรียนระดมความคิดเห็นในกลุ่มเพื่อหาวิธีการป้องกันความปลอดภัย ของข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในโทรศัพท์

  • นักเรียนจะมีวิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร ก่อนโทรศัพท์จะหาย
  • นักเรียนจะมีวิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร หนังจากโทรศัพท์หาย
  • หากผู้อื่นใช้โทรศัพท์ของนักเรียนโพสต์ข้อความที่ทำให้เสียหาย จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
  • นักเรียนควรเก็บข้อมูลความลับของตนเองไว้ในโทรศัพท์หรือไม่เพราะเหตุใด 

 

  • ปัจจุบันหุ่นยนต์สามารถทำงานอัตโนมัติ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของมนุษย์  หากเกิดปัญหาขึ้นนักเรียนคิดว่าผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ
  •  บอกข้อดีและข้อเสียของโดรน  Drone  หรืออากาศยานไร้คนขับ( Unmanned Aerial Vehicle: UAV) นักเรียนคิดว่าควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้ โดรน  แล้วแสดงความคิดเห็นถึงจริยธรรมของผู้พัฒนาซอฟแวร์เพื่อควบคุมการทำงาน

  • กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

 

  • มีเทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันใดบ้าง  ที่นักเรียนคิดว่ามีผลกระทบกับความเป็นส่วนตัวของบุคคลในด้านต่างๆ เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน การระบุตำแหน่งที่อยู่และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์แบบใช้ได้โดยเสรี  (freewhere)  ซอฟต์แวร์แบบทดลองใช้ (shareware /trialware) มีลิขสิทธิ์การใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

 

<< Go Back