คำอธิบายรายวิชา ศึกษาส่วนประกอบและหลักการทำงานของหุ่นยนต์ Teacher Robot บอร์ด Raspberry Pi บอร์ด Arduino และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์ โมดูลต่าง ๆ หลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน ภาษาซี การต่อวงจรไฟฟ้า และการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของล้อหุ่นยนต์ การเคลื่อนไหวของแขน การเปิด-ปิดไฟ RGB การเล่นเสียงและตัวโน๊ตโดยใช้การสื่อสารระหว่างบอร์ด Raspberry Pi และบอร์ด Arduino ศึกษาขั้นตอนการออกแบบหน้าจออินเตอร์เฟซ (GUI) ด้วย PyQT5 การแปลงเสียงเป็นข้อความ (Speech To Text) เพื่อสั่งการหุ่นยนต์ด้วยเสียง การแปลงข้อความเป็นเสียง (Text To Speech) เพื่อให้หุ่นยนต์โต้ตอบกับมนุษย์ได้ และการถาม--ตอบระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ (Chatbot) โดยใช้ ChatGPT เพื่อนำความรู้เหล่านี้มาพัฒนาหุ่นยนต์ “AI Robotic” ซึ่งเป็นโครงงานที่พัฒนาต่อยอดมาจากการเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้านโค้ดดิ้งและการนำ Generative AI มาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ นำทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ภาษาซี มาพัฒนาหุ่นยนต์ด้วยบอร์ด Raspberry Pi และ Arduino ได้ด้วยตนเอง รักการค้นคว้าและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์ นำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบ รหัสและตัวชี้วัด |