<< Go Back

     Raspberry Pi (ออกเสียงว่า ราส-เบอร์-รี่-พาย) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ที่มีขนาดเพียงเท่ากับบัตรเครดิต ที่สำคัญคือ Raspberry Pi มีราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปปกติ ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง สามารถต่อ Raspberry Pi เข้ากับจอคอมพิวเตอร์หรือจอทีวีที่รองรับ HDMI หรือถ้าไม่มีพอร์ต HDMI ก็ไม่ต้องก็สามารถต่อผ่านสายสัญญาณวิดีโอปกติ (เส้นสีเหลือง) ได้เช่นกัน แต่ความละเอียดอาจจะต่ำกว่า

     นอกจากต่อจอแสดงผลแล้ว ก็ต้องต่ออุปกรณ์รับข้อมูล Raspberry Pi  นี้รองรับเมาส์และคีย์บอร์ด ผ่าน USB port ปกติ เพราะฉะนั้นสามารถนำเมาส์และคีย์บอร์ดที่มีอยู่แล้วมาต่อได้เลย ระบบจ่ายไฟของ  Raspberry Pi  เพียงเสียบสาย Mini USB ที่เราใช้ชาร์จมือถือและอุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือเข้ากับหัวชาร์จไฟมือถือก็ได้เช่นกัน

     (Raspberry Pi) เกิดขึ้นในปี 2549 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยผู้สร้างทั้งสี่คนคือ อีเบน อัพตั้น, ร๊อบ มูลลิ่นส์, แจ๊ค แลง และ อลัน มายครอฟท์ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ Raspberry Pi เป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยาที่ใครๆ ก็สามารถหามาครอบครองได้ และสามารถศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้ทันที การที่ Raspberry Pi เป็นบอร์ดวงจรรวมที่เปลือยเปล่า ทำให้เด็ก ๆ ได้เห็นชิ้นส่วนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มาในกล่องสวยงามได้มากขึ้น

     Raspberry Pi กับคอมพิวเตอร์ เช่น
          - ใช้เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต
          - ใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ สำหรับเปิดเว็บไซต์ขนาดเล็ก
          - ใช้ทำระบบตรวจจับใบหน้า

     ส่วนนอกเหนือจากที่คอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปทำได้ก็คงเป็นเรื่องของการสื่อสาร และควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น
          - ระบบเปิด/ปิดหลอดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
          - ใช้ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ หรือเครื่องจักร
          - ใช้ทำประตูไฟฟ้า ล็อค/ปลดล็อคด้วยรีโมท หรือสั่งงานด้วยเสียง
          - ใช้ทำสถานีวัดอุณหภูมิ และความชื้นในอากาศ
          - ใช้ทำระบบกล้องวงจรปิด

     Raspberry Pi คืออะไร บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเชื่อมต่อกับจอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด และเมาส์ได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม หรือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน Spreadsheet Word Processing ท่องอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล หรือเล่นเกมส์ อีกทั้งยังสามารถเล่นไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง (High-Definition) ได้อีกด้วย

     บอร์ด Raspberry Pi รองรับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux Operating System) ได้หลายระบบ เช่น Raspbian (Debian) Pidora (Fedora) และ Arch Linux เป็นต้น โดยติดตั้งบน SD Card บอร์ด Raspberry Pi นี้ถูกออกแบบมาให้มี CPU GPU และ RAM อยู่ภายในชิปเดียวกัน มีจุดเชื่อมต่อ GPIO ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้อีกด้วย

คุณสมบัติทางเทคนิคของบอร์ด

     บอร์ด Raspberry Pi ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 โมเดล คือ โมเดล A และ โมเดล B ซึ่งทั้ง 2 โมเดลมีคุณสมบัติทางเทคนิคที่ใกล้เคียงกัน แตกต่างกันเพียงบางส่วน รายละเอียดดังตาราง

 

ตัวอย่างโครงสร้างบอร์ด Raspberry Pi ทั้ง 2 โมเดล

 

ส่วนประกอบของบอร์ด Raspberry Pi (Model B)

ด้านหน้าบอร์ด ด้านหลังบอร์ด

     1. คอนเน็กเตอร์สำหรับเชื่อมต่อ Input – Output (GPIO), SPI, I2C, I2S และ UART

     2. พอร์ตเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียง Audio Video (AV) แบบ TSR สำหรับจอภาพที่มีระบบ Audio Video (AV)
     3. LED แสดงสถานะของบอร์ด Raspberry Pi
     4. คอนเน็กเตอร์ USB 2.0 จำนวน 4 พอร์ต
     5. คอนเน็กเตอร์ LAN/100 Mbps สำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต และระบบอินทราเน็ต
     6. คอนเน็กเตอร์ CSI สำหรับเชื่อมต่อกับโมดูลกล้อง
     7. LAN Controller
     8. คอนเน็กเตอร์ HDMI สำหรับต่อสัญญาณภาพและเสียง ใช้เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงยังจอภาพที่มีขั้วแบบ HDMI
     9. ชิป SoC Broadcom BCM2837 โดยมีการรวม CPU, GPU และ SDRAM ไว้ในตัวถังเดียวกัน สำหรับ CPU คือ ARM Cortex A53 ARMv8 แบบ Quad-Core ขนาด 64-bit ใช้ความถี่ที่ 1.2GHz
     10. คอนเน็กเตอร์ DSI สำหรับเชื่อมต่อจอภาพ และเชื่อมต่อ GPIO Extension Board
     11. คอนเน็กเตอร์ Micro USB สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงบอร์ด
     12. คอนเน็กเตอร์ SD Card (ด้านใต้บอร์ด)
     13. ชิปสำหรับเชื่อมต่อ Wi-Fi IEEE 802.11n และ Bluetooth 4.1, Bluetooth Low-Energy (LE)

<< Go Back