<< Go Back

        Animaker คือโปรแกรมสำหรับสร้างการ์ตูน Animation สามารถสร้างสื่อหรือการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้นำเสนองาน และยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย Animaker เป็นโปรแกรมที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์รวมถึงไม่เสียค่าใช้จ่าย (นอกจากต้องการ Upgradeเพิ่มเติม) ซึ่งโปรแกรมนี้มี Features ให้เลือกใช้มากมายและ Features ดังกล่าวยังแตกต่างไปจากโปรแกรมอื่นอีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานเบื้องต้น ดังนี้

        1. เปิดเว็บไซต์ https://www.animaker.com/ จากนั้นคลิกที่ Create your first Video

  


        2. จะปรากฎหน้าต่าง SIGN UP สามารถเข้าใช้งานได้ 3 ทางคือ บัญชี Google บัญชี Facebook และสมัครสมาชิก


        ในที่นี้จะยกตัวอย่างการ Sign Up โดยใช้บัญชี Google คลิกที่ Google เลือกบัญชี จากนั้นใส่รหัสผ่านแล้วคลิกที่ Next

 
       3. จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรม Animaker ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงหน้า Dashboard ของ Animaker ได้แล้วซึ่งในหน้า Dashboard มี Templates มากมายขึ้นมา ให้ผู้ใช้งานเลือกได้อย่างหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นขนาด หรือ สีสัน ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานได้ตามความต้องการและมีหมวดหมู่แทมเพลตสามารถเลือก Template เพื่อสร้างวิดีโอได้ หรือสามารถเลื่อนเมาส์มาด้านล่างเพื่อเลือกแทมเพลต อื่น ๆ หรือเลือกเทมแพลตเปล่าได้ที่


        4. เมื่อชี้เมาส์ที่แทมเพลตจะปรากฏปุ่ม Preview และปุ่ม Use สามารถกดปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่าง และกดปุ่ม Use เพื่อเริ่มสร้างชิ้นงาน


        ในที่นี้จะเลือกดูตัวอย่าง Udemy Course Promotion ในแทมเพลต Video Ads จะแสดงตัวอย่างเป็น vdo เพื่อรับชมแล้วคลิก เพื่อปิดตัวอย่าง


        5. หรือสามารถเลือกแทมเพลตเปล่าและอื่น ๆ ได้จากหน้า Dashboard ขั้นตอนแรกในการสร้าง Animation 2D ให้คลิกไปที่ Create ที่อยู่แถบด้านซ้าย


        หลังจากนั้นจะขึ้นแถบเครื่องมือด้านข้างเมนู Create ให้คลิกไปที่ Create a video เพื่อเป็นการเลือกหน้ากระดาษเปล่าที่ใช้สร้าง Animation 2D


        6. หลังจากนั้นจะได้หน้าจอการสร้าง Animation 2D ซึ่งหน้าจอการสร้างจะมีแถบเครื่องมือสำคัญต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานอยู่ ซึ่งจะอธิบาย และ แนะนำแถบเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Animation 2D ดังนี้
        - แถบจัดการโปรแกรม เป็นเครื่องมือที่ไว้แสดงตัวอย่างงาน แก้ไขชื่อผลงาน สร้างวิดีโอใหม่และบันทึกงาน (บันทึกอัตโนมัติ)


        - เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน การเลือกตัวละคร พื้นหลัง ตัวหนังสือ การใส่เพลงประกอบ เป็นต้น



        - Timeline มีไว้สำหรับใช้ควบคุมจัดการ ตัวละคร เสียงประกอบต่าง ๆ ที่จะแสดงในวิดีโอสามารถกำหนดเวลาปรับเวลาได้จากที่นี่


        - Scene เป็นแถบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฉาก สามารถเพิ่มฉากลบฉากใส่ Effects ระหว่างฉากได้จากแถบนี้



        - Workplace พื้นที่สำหรับการทำงานสำหรับสร้างงาน Animation2D เปรียบเหมือนหน้าจอในการจัดการองค์ประกอบ และ แสดงผล

 

        7. การเลือกตัวละคร (Characters) ไปที่แถบเครื่องมือด้านซ้ายคลิกที่  จากนั้นจะปรากฏตัวละครรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาให้เลือกใช้งาน (ยกเว้นตัวละครที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  ) หลังจากนั้นให้เลือกตัวละครที่เราต้องการได้ตามใจชอบ

        และเมื่อคลิกที่ตัวละครจะเห็นแถบเครื่องมือเพิ่มเติมแสดงขึ้นมา เมื่อคลิกไปที่ตัวละครที่เลือกมาอยู่ใน Workplace จะแนะนำเครื่องมือเพิ่มเติม ดังนี้
        - หมายเลข 1 Action เป็นเครื่องมือสำเร็จรูปจะมีรูปแบบท่าทางของตัวละครหลากหลายให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามต้องการ เมื่อคลิกที่ท่าทางใด ตัวละครที่ได้เลือกไว้จะเปลี่ยนท่าทางไปตาม Action ที่เลือก
        - หมายเลข 2 Action+ เครื่องมือเพิ่มเติมการเคลื่อนที่ และแทนที่ตัวละคร คือ Smart move เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ของตัวละครซึ่งจะมีรูปแบบการเคลื่อนที่ให้เราเลือกใช้ และสามารถกำหนดการเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเอง
        - หมายเลข 3 Voice - over เครื่องมืออัดเสียงพูด เป็นการพากย์เสียงให้ตัวละครเป็นการทำให้ตัวละครเราสามารถพูดได้และสมจริงมากยิ่งขึ้น
        - หมายเลข 4 Smart Move การเคลื่อนที่ของตัวละครไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถคลิกเมาส์ค้างแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย

        Enable กลับไปยังจุดที่ย้ายตัวละครไป

        Reset ล้างการเคลื่อนย้ายมายังตำแหน่งเดิม

        ดูการเคลื่อนไหวของตัวละคร

        ยกเลิกการเคลื่อนที่ Apply ยืนยันการย้ายตำแหน่งของตั้วละคร

        - หมายเลข 5 Change Color การเปลี่ยนสีส่วนต่าง ๆ ของตัวละคร ดังนี้ Skin Eye Hair Mouth Eyebrow BottomWear TopWear Shoe
        - หมายเลข 6 Swap การเปลี่ยนตัวละคร
        - หมายเลข 7 Flip การกลับด้านตัวละคร
        - หมายเลข 8 Setting สามารถตั้งค่า Effects การเข้า - ออกของตัวละคร และสามารถตั้งค่า Arrangements ของตัวละครได้ว่าจะให้อยู่หน้าสุดหลังสุด หรืออยู่ลำดับไหนขององค์ประกอบทั้งหมด และปรับความเข้ม-จางสีของตัวละคร
        - หมายเลข 9 Lock ล็อกไม่ให้ตัวละครเคลื่อนที่ได้
        - หมายเลข 10 ลบตัวละคร

        8. การใส่พื้นหลัง (Backgrounds)
วิธีที่ 1 ให้ไปที่แถบเครื่องมือการใช้งานด้านซ้าย และเลือกเครื่องมือการใส่พื้นหลัง  มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น การใส่ฉากการ์ตูนใน location ต่าง ๆ การใส่พื้นหลังสี การใส่พื้นหลัง เป็นรูปภาพ หรือ วิดีโอ (ยกเว้นภาพพื้นหลังที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  ) ใน

        ในส่วนของการใส่พื้นหลังจะสามารถเปลี่ยนสีปรับแต่งได้เพียงเล็กน้อยจากแถบเครื่องมือเพิ่มเติม  เมื่อคลิกไปที่พื้นหลังจะเห็นแถบเครื่องมือเพิ่มเติมคล้ายกับเครื่องมือเพิ่มเติมของตัวละครด้านบนแต่จะมีเครื่องมือที่น้อยกว่า

        - หมายเลข 1 Filters คือ การเลือกเฉดสีพื้นหลังสามารถคลิกเลือกได้เลย Adjust คือการปรับสีความเข้ม - อ่อน ของสีพื้นหลัง
        - หมายเลข 2 Change Color การเปลี่ยนสีส่วนต่าง ๆ ของพื้นหลัง
        - หมายเลข 3 Resize การย่อย-ขยายภาพพื้นหลัง
        - หมายเลข 4 Swap การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง
        - หมายเลข 5 Flip การกลับด้านภาพพื้นหลัง
        - หมายเลข 6 Delete การลบภาพพื้นหลัง

วิธีที่ 2 เลือกรูปแบบพื้นหลังจาก Timeline โดยคลิก Timeline สไลด์ที่ต้องการเปลี่ยน จากนั้นคลิกที่การตั้งค่าเพิ่มเติม จากนั้นเลือกรูปแบบที่ต้องการซึ่งประกอบด้วย 4 รูปแบบ ดังนี้
        1. Color เมื่อคลิกที่เมนูนี้พื้นหลังจะเป็นสีขาวก่อน จากนั้นคลิกที่สัญลักษณ์บวกจะปรากฏแถบสีขึ้นมาให้เลือก


       หรือสามารถเลือกแพลตฟอร์มสีได้จาก Color palette (หมายเหตุ คลิกเครื่องหมายถูก  ทุกครั้งที่ต้องการยืนยันการเลือกสี และคลิกเครื่องหมาย เมื่อต้องการยกเลิก)


       และเมื่อชี้เมาส์ไปยังสีที่ต้องการจะปรากฏโทนสีนั้น ๆ ให้เลือกเพิ่มเติม โดยคลิกที่ช่องสีที่ต้องการ จะปรากฏแถบสีขึ้นมาให้เลือก ซึ่งลักษณะสีที่ได้จะอยู่ในแบบ gradient


       หากต้องการเลือกสีเองให้คลิกเลือกที่สีเพิ่มเติม  คลิกสีที่ต้องการจากนั้นคลิกเลือกเครื่องหมาย

       หากต้องการเพิ่มเป็น 2 สี ให้เลือกเครื่องหมาย + จากนั้นเลือกสีตามขั้นตอนด้านบน

        2. 2D Background การเลือกพื้นหลังจากเมนูด้านซ้าย  ซึ่งวิธีการเลือกแนะนำก่อนหน้านี้
        3. Video เมื่อคลิกเมนูนี้ โปรแกรมจะไปเลือก Videos ที่เมนูด้านซ้ายโดยสามารถเลือก Video ที่ต้องการได้เลย โดยเมื่อชี้เมาส์ไปที่ Video
        4. Upload เมื่อคลิกเมนูนี้จะปรากฏหน้าต่างเลือกรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ทันที ซึ่งสามารถเลือกเป็นรูปภาพหรือ Video ถ้าไม่พบไฟล์ Video ให้เลือกนามสกุลเป็น All Files จากนั้นคลิกเลือกไฟล์แล้วคลิก Open


         ไฟล์ที่ดาวน์โหลดเข้ามาจะปรากฏที่เมนูด้านซ้าย ซึ่งสามารถคลิกใช้งานได้เลย หากมีการนำเข้าไฟล์ Video ให้รอจนกว่าจะอัปโหลดเสร็จสิ้น


         หากต้องการลบให้ชี้เมาส์ไปที่วัตถุนั้น ๆ จะปรากฏเพิ่มเติม 3 จุด คลิกแล้วเลือก Delete

 

         ไฟล์ทั้งหมดที่ผ่านการอัปโหลดเข้ามาไม่เพียงแต่ใช้เป็นพื้นหลังเท่านั้น ยังสามารถใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสไลด์ได้ และสามารถย่อ-ขยายได้ ซึ่งมีรายละเอียดส่วนที่สำคัญ ดังนี้
         1. รูปภาพ เมื่อคลิกที่รูปภาพจะปรากฏเครื่องมือการจัดการรูปภาพเพิ่มเติมขั้นมา

ตัดรูปภาพ
เอฟเฟกต์ของรูปภาพ
Swap การเปลี่ยนรูปภาพ จากนั้นเลือกรูปภาพที่อัปโหลดเข้ามาจากเมนูด้านซ้ายและคลิก Apply และคลิก   เมื่อต้องการยกเลิก
ตั้งค่าให้รูปภาพเป็นพื้นหลัง และคลิก  เมื่อยกเลิก
การล็อกรูปภาพอยู่กับที่
การย้ายรูปภาพไปยังตำแหน่งอื่น ๆ
การกลับด้านรูปภาพ

ตั้งค่าเพิ่มเติม เมื่อคลิกเมนูนี้จะปรากฏหน้าต่างตั้งค่า สามารถใส่เอฟเฟกต์ ความเข้ม-จาง และตำแหน่งก่อน-หลัง ของรูปภาพได้

ลบรูปภาพ


         2. Video เมื่อคลิกที่ Video จะปรากฏเมนูเพิ่มเติม ดังนี้

         ตัด Video บางส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง เมื่อคลิกเมนูนี้จะปรากฏหน้าต่างช่วงเวลาของ Video ให้คลิกเมาส์ค้างที่เส้นสีม่วง จากนั้นลากเข้ามายังช่วงที่ต้องการ ซึ่งเส้นสีม่วงมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อได้ช่วงที่ต้องให้คลิกที่เครื่องหมายถูกสีเขียว

เอฟเฟกต์ของ Video
การกลับด้าน Video
ลบ Video
เคลื่อนย้ายหรือย่อ-ขยาย Video

       9. การใช้เครื่องมือ Properties ให้ไปที่แถบเครื่องมือการใช้งานด้านซ้ายจากนั้นคลิกที่  หลังจากนั้นจะมีแถบแสดงผล Properties ภายในแถบจะมีองค์ประกอบเสริมต่าง ๆ ที่แบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดอาหาร หมวดของใช้ หมวดกีฬา เป็นต้นเมื่อเลือก Properties ที่ต้องการได้แล้ว สามารถเลือกมาใช้ในงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ยกเว้นไอคอนที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  )

        10. การใส่ตัวหนังสือ (Text) ให้ไปที่แถบเครื่องมือการใช้งานด้านซ้ายเลือกเครื่องมือ Text  จะแสดงแถบตัวหนังสือในรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกใช้เมื่อเลือกแล้วสามารถคลิกที่รูปแบบอักษรเพื่อพิมพ์คำที่เราต้องการลงในรูปแบบที่เลือกมา ตามรูปด้านล่าง (ยกเว้น Text ที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  )

       11. การใส่เสียงประกอบแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
           ส่วนที่ 1 เป็นการใส่เสียงเพลงประกอบ
           ส่วนที่ 2 เป็นการใส่เสียง Effects
           ส่วนที่ 3 เป็นการใส่เสียงพูดให้กับตัวละคร

ส่วนที่ 1 การใส่เสียงให้เลือกที่เครื่องมือจะเป็นการใส่เสียงเพลงประกอบ สามารถนำมาใช้ได้ไม่ติดลิขสิทธิ์เพลง เป็นการใส่เสียงเพลงในส่วนที่ 1 (ยกเว้นเสียงที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  )

       เมื่อเลือกเพลงประกอบเรียบร้อยแล้ว ให้ไปดูที่แถบควบคุม Timeline ด้านล่างจะเห็นไฟล์เสียงที่เลือกไว้ถ้าหากคลิกไปที่ไฟล์เพลงที่เลือกไว้ จะเห็นแถบเครื่องมือเพิ่มเติมขึ้นมาด้านขวา ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการปรับแต่งเพลงประกอบ ดังนี้
       หมายเลข 1 เครื่องมือสำหรับใช้ฟังพลงประกอบที่เลือกถ้าหากเพลงยาวไปสามารถตัดเพลงได้  โดยการกดที่ไฟล์เพลงค้างแล้วเลื่อนมาทางซ้ายเพื่อเป็นการตัดเพลง ถ้าลากไปทางขวาจะเป็นการเพิ่มความยาวเพลง
       หมายเลข 2 เครื่องมือสำหรับปรับระดับเสียงกำหนดความดัง – ความเบาของเพลงประกอบ
       หมายเลข 3 เป็นเครื่องมือที่ใช้ คัดลอกเพลงให้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งไฟล์เหมือนกับการ copy ไฟล์เสียงให้อยู่ในอีก layer ใหม่
       หมายเลข 4 เป็นเครื่องมือสำหรับลบไฟล์เพลงประกอบที่เราไม่ต้องการใช้ หรือใสไฟล์เสียงผิดออกจาก Timeline

       ส่วนที่ 2 หากต้องการใช้เสียง Effects เข้ามาประกอบ Animation 2D จะต้องไปที่เครื่องมือ Music ที่ด้านซ้ายมือ แล้วคลิกไปที่ Sound effects จะแสดงแถบเสียง Effect ขึ้นมาสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบและสามารถปรับได้ตามที่ต้องการที่ Timeline


       ส่วนที่ 3 การพากย์เสียงหรือใส่เสียงพูดให้กับตัวละครให้เลือกไปที่ตัวละครที่ต้องการใส่เสียงพูดลงไป  จากนั้นไปที่แถบเครื่องมือเพิ่มเติมแล้วคลิกเครื่องมือ Voice-over

       หลังจากนั้นจะมีแถบเครื่องมือ Voice – over แสดงขึ้นมาที่ด้านขวามือ ให้เลือกไปที่ Record Voiceต่อมาจะมีหน้าจอแสดงขึ้นมาลักษณะตามภาพด้านล่างนี้ในการเริ่มอัดเสียงให้เลือกไปที่ จะเป็นการเริ่มอัดเสียงและเมื่ออัดเสียงได้ตามที่ต้องการแล้วสามารถกด Apply เพื่อนำไปใช้ หลังจากนั้นไฟล์เสียงจะแสดงที่ด้านล่าง Timeline

12. วิธีการสร้างตัวละคร เพื่อนำไปใช้ในงาน Animation ที่เราสร้างไว้

         การสร้างตัวละครให้คลิกไปที่  เมื่อคลิกแล้วจะเห็นหน้าต่างดังภาพ จากนั้นไปคลิกที่ Create Your Own จะขึ้นให้เลือกว่าจะสร้างตัวละครหญิง หรือ ตัวละครชาย ดังรูปด้านล่าง (ยกเว้นตัวละครที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  )

         จากนั้นทำการเลือกสีผิว คิว และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีให้เลือกโดยคลิกเลือกจากแท็บด้านขวามมือ (ยกเว้นสิ่งที่ต้อง Upgrade เพิ่มเติม  )

         เมื่อปรับแต่งจนได้ตัวละครที่ต้องการแล้ว ให้ไปที่แถบเครื่องมือด้านขวา บนเพื่อตั้งชื่อให้กับตัวละครจากนั้นคลิกที่ Save

         หลังจากนั้นตัวละครใหม่ที่สร้างขึ้นจะอยู่ในเครื่องมือและสามารถนำมาใช้ในงานวิดีโอของเราได้ โดยคลิกเลือกตัวละครที่เราสร้าง

หมายเหตุ : การสร้างตัวละครจะสามรถสร้างได้เพียง 2 ตัวละครเท่านั้น (หากต้องการสร้างมากกว่า 2 ตัวละครจะต้อง Upgrade เพิ่มเติม)

13. การจัดการสไลด์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

         หมายเลข 1 การเพิ่มความคิดเห็นหรือรายละเอียดของสไลด์หรือสำหรับเตือนความจำ
         หมายเลข 2 การเพิ่มสไลด์
         หมายเลข 3 การลบสไลด์
         หมายเลข 4 การเพิ่ม Effect ให้กับสไลด์ เมื่อคลิกเมนูนี้จะปรากฏ Effect ด้านขวา

         หมายเลข 5 การแสดงผลลัพธ์ทั้งชิ้นงาน
         หมายเลข 6 การแสดงผลลัพธ์เฉพาะสไลด์นั้น ๆ
         หมายเลข 7 Timeline ของแอนิเมชัน
         หมายเลข 8 Timeline ของ Video และเสียง
         หมายเลข 9 Timeline ของ Camera

14. เมนูย้อนกลับ ถัดไป และคัดลอก

15. การส่งออกชิ้นงานเป็น Video ให้เลือกเป็น Mp4 HD 720p (ผกเว้นที่ Upgrade รูปดาว) จากนั้นคลิก Download รอกระทั้ง Progress เสร็จสิ้น


จากนั้นคลิกดาวน์โหลด

 


    

<< Go Back