<< Go Back

        ด้วยความก้าวหน้าของโลกดิจิตอลทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรก้าวเข้าสู่การเป็น smart farmer หรือเกษตรกรอัจฉริยะด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้ชีวิตแบบเกษตร 4.0 ง่ายขึ้นและผันตัวจากการเป็นผู้ผลิต มาเป็นผู้ผลิตพร้อมทั้งแปรรูปและจัดจำหน่ายกลายเป็นนักธุรกิจเต็มตัว เพราะในปัจจุบันเกษตรกรสามารถค้าขายผ่านระบบออนไลน์บนเครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกสบายเชื่อมโยงให้เกิดการสั่งซื้อผ่าน Application ต่าง ๆ การรับโอนเงินผ่านระบบออนไลน์แบงก์กิ้งและการส่งของด้วยบริษัทเอกชนที่รวดเร็ว ซึ่งทำให้ตัดเรื่องการสูญเสียผลกำไรบางส่วนให้แก่พ่อค้าคนกลางขอเพียงแค่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทุกอย่างก็ง่ายดายขึ้น

        แนวทางที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ได้ในทันทีคือการถ่ายรูปสินค้าการเกษตรของงตนเอง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวแล้วนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อยืนยันการมีตัวตนของเราและหาเวลาโพสต์ความเคลื่อนไหวเป็นระยะ ขณะเดียวกันควรถ่ายรูปผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปลงทะเบียนเปิดร้านในแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่เราไม่ต้องเสียเงินค่าสมัครใด ๆ ทั้งสิ้นแค่นี้ก็จะทำให้เรามีร้านค้าออนไลน์เป็นของตนเอง และสามารถขายผลผลิตของเราไปยังลูกค้าโดยตรงได้ และนี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้เกษตรกรเกิดรายได้

        การมุ่งเป้าไปที่ความยั่งยืนของการประกอบอาชีพเกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรกรรม ในการเพิ่มผลผลิต เพื่อทำกำไรสูงขึ้นโดยเน้นว่าจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย จึงเท่ากับว่าการทำเกษตรสมัยใหม่จะเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่ระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศวิทยาไปพร้อมกัน แนวคิดนี้กลายเป็นแนวคิดที่หลายประเทศนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายด้านการเกษตร โดยหากทุกประเทศสามารถพลิกให้เกษตรกรทั้งโลกผันตัวเองเป็น smart farmer ได้ เราทั้งโลกจะหมดความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านอาหารไปได้ทันที

การเกษตรยุค 4.0 คืออะไร

        1.0 ยุคเกษตรกรรม ประชาชนเน้นทำการเกษตรเป็นหลัก
        2.0 ยุคอุตสาหกรรมเบาทำอุตสาหกรรมภายในใช้ต้นทุนที่มีอยู่แล้วประชาชนเริ่มมีศักยภาพและการศึกษามากขึ้น
        3.0 ยุคอุตสาหกรรมหนัก ทำอุตสาหกรรมโดยใช้ต้นทุนจากต่างประเทศและเน้นการส่งออก ยุคนี้ทำให้ประเทศไทยติดอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางมากว่า 20 ปี และยังคงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและต้นทุนจากต่างประเทศมาโดยตลอด
        4.0 ยุคขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมโดยใช้ความได้เปรียบที่ประเทศเรามีอยู่แล้ว คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

        เกษตร 4.0 เป็นการเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

ยุทธศาสตร์ของเกษตร 4.0
        นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า เพื่อกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาว จำเป็นต้องมีกรอบการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศระยะ 20 ปี โดยได้วางแผนระยะยาวไว้ 10 ข้อดังนี้
        1. ส่งเสริมเกษตรกรให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
        2. เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ
        3. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย
        4. แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
        5. พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบที่มีอยู่ให้ทันสมัย
        6. เน้นทำปศุสัตว์แปลงใหญ่ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ
        7. เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
        8. ปรับการผลิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
        9. เน้นทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น
        10. บูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ

ขายของออนไลน์

        การขายของออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นการดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าได้อย่างทั่วถึงสามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก จนวันนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 มีมูลค่าเติบโตสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท
        แม้เป็นเรื่องจริงที่ว่าวันนี้ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดายเพราะมีแพลทฟอร์มมากมายให้เลือกเชื่อมต่อหาลูกค้าที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ แต่ความจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ อีคอมเมิร์ซ ถือเป็น Red Ocean หรือ “น่านน้ำสีแดง” ที่แข่งขันสุดดุเดือด แม้จะเข้าง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่เข้ามาจะประสบความสำเร็จ

        Smart Agriculture หรือ Smart Farm คือ การเกษตรแบบใหม่ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่ามาใช้ข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร เพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืนลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น

        สมาร์ทฟาร์ม เป็นรูปแบบการทำเกษตร ที่เน้นการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้าน คือ
         1. ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
         2. เพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า
         3. ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและภัยธรรมชาติ
         4. การจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติ
        ภายใต้คำจำกัดความคำว่า “สมาร์ท ฟาร์ม” แปลความหมายได้ว่าต่อไปคนปลูกพืชผัก ทำไร่ทำนา ทำสวน ทำปศุสัตว์ ประมง จะไม่ใช่เป็นเกษตรกรแบบเดิม ๆ อีกต่อไปแต่เป็น "ผู้ประกอบการเกษตรหรือนักธุรกิจเกษตร" ซึ่งก็คือสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ นั่นเอง

หัวใจสำคัญของการทำ Smart Farm

        - ข้อมูล เป็นพื้นฐานในการทำการเกษตรโดย Smart Farm ต้องพึ่งพาข้อมูลในการวิเคราะห์ หาแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถลดปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

        ข้อมูล คือค่าของตัวแปรในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ที่อยู่ในความควบคุมของกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลในเรื่องการคอมพิวเตอร์ (หรือการประมวลผลข้อมูล) จะแสดงแทนด้วยโครงสร้างอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นโครงสร้างตาราง (แทนด้วยแถวและหลัก) โครงสร้างต้นไม้ (กลุ่มของจุดต่อที่มีความสัมพันธ์แบบพ่อลูก) หรือโครงสร้างกราฟ (กลุ่มของจุดต่อที่เชื่อมระหว่างกัน) ข้อมูลโดยปกติเป็นผลจากการวัดและสามารถทำให้เห็นได้โดยใช้กราฟหรือรูปภาพ ข้อมูลในฐานะมโนทัศน์นามธรรมอันหนึ่ง อาจมองได้ว่าเป็นระดับต่ำที่สุดของภาวะนามธรรมที่สืบทอดเป็นสารสนเทศและความรู้ ข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ยังไม่ประมวลผล เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง หมายถึงการรวบรวมจำนวนและอักขระต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามปกติในการประมวลผลข้อมูลเป็นระยะ และ ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจากระยะหนึ่งอาจถือว่าเป็น ข้อมูลดิบของระยะถัดไปก็ได้ ข้อมูลสนามหมายถึงข้อมูลดิบที่รวบรวมมาจากสภาพแวดล้อม ณ แหล่งกำเนิดที่ไม่อยู่ในการควบคุม ข้อมูลเชิงทดลองหมายถึงข้อมูลที่สร้างขึ้นภายในสภาพแวดล้อมของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตและการบันทึก

        - เทคโนโลยี เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรแม่นยำมากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ปัจจัยทางการผลิต ทั้งสภาพอากาศและค่าดินนอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนการใช้แรงงานในการทำการเกษตร

        เทคโนโลยี หรือ เทคนอลอจี เป็นการผสมผสานเทคนิก ทักษะ วิธีการ และกระบวนการเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ หรือเพื่อบรรวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ
        คำว่า "เทคโนโลยี" เปลี่ยนความหมายไปอย่างมากในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำนี้ไม่ปรากฏใช้ในภาษาอังกฤษมากนัก และหากปรากฏก็มีไว้สื่อถึงศาสตร์ชองศิลปะเพื่อการใช้งานหรือการศึกษาเชิงเทคนิก ดังเช่นในชื่อของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (จัดตั้งในปี 1861)
        คำว่า "เทคโนโลยี" เริ่มกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองในศตวรรษที่ 20 คำนี้เริ่มเปลี่ยนความหมายในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักสังคมวิทยา เริ่มต้นโดยธอร์สไตน์ เวเบลน แปลแนวคิดภาษาเยอรมันของคำว่า Technik เป็น "เทคโนโลยี" ในภาษาเยอรมันและภาษายุโรปอื่น มีความแตกต่างชัดเจนระหว่างความหมายของ technik กับ technologie แต่ความต่างนี้ไม่ปรากฏในภาษาอังกฤษซึ่งมักแปลทั้งสองคำเป็น "technology" เหมือนกันภายในทศวรรษ 1930s "เทคโนโลยี" ถูกใช้เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งการศึกษาศิลปะอุตสาหกรรมและตัวศิลปะอุตสาหกรรมเอง

        แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 (พ.ศ. 2555 –2559) ได้บรรจุ “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” เป็นส่วนหนึ่งของ แผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 โดยแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เมื่อ 26 กันยายน 2554
        แนวคิด“สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยคาดหวังให้เกษตรกรมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงในมิติของการผลิตและการตลาดพร้อมก้าวสู่การเป็น “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” หรือผู้จัดการฟาร์มมืออาชีพ รวมถึงการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนรุ่นเดิม

ตัวอย่างการทำ Smart Agriculture ในไทย กรณีศึกษา Deva Farm

        Deva Farm เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่า Smart Agriculture สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย โดยฟาร์มนี้ปลูกพืชเมืองหนาวอย่าง ฮอป (Hop) ด้วยการเพาะปลูกแบบโรงเรือนที่ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีแทบทั้งหมด และเป็นการทำเกษตรโดยแทบไม่ต้องใช้คนในการเพาะปลูก
        ทาง Deva Farm เริ่มต้นวางระบบด้วยการซื้ออุปกรณ์ด้าน IoT ทั้งหมดตั้งแต่ระบบวัดอุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเข้มแสง ความเร็วลม โดยวางระบบให้ทุกอย่างทำงานสอดคล้องกัน ผ่านการเขียน Python เชื่อมต่อ IoT ผ่าน API แล้วนำมาแสดงผลบน Dashboard ของ Grafana ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานภายในฟาร์มได้ผ่านแท็บเล็ตเพียงตัวเดียว

ตัวอย่างระบบการทำงานภายใน Deva Farm
        Deva Farm ใช้เซ็นเซอร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น หากอุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับได้จะพ่นหมอกไอน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิหรือระบบการใส่ปุ๋ยที่ปรับสูตรใส่อัตโนมัติตามค่าความชื้นอากาศที่เซ็นเซอร์วัดได้ในแต่ละวัน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรจะมีหน้าที่แค่ดูภาพรวมภายในฟาร์มแก้ไขปัญหาและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่านั้น ทำให้ฟาร์มนี้สามารถทำงานได้โดยแทบไม่ต้องใช้แรงงานคน

ที่มา : https://www.baanlaesuan.com/59796/design/design-update/places/deva-farm




        ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงด้วยทศพิธราชธรรม นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงเป็นพระราชาที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และการทำงานแก่พสกนิกรของพระองค์ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่ต่างประจักษ์ต่อผู้คนและนานาประเทศอีกด้วย ซึ่งแนวคิดหรือหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความน่าสนใจที่สมควรนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตการทำงาน หลักการทรงงานของพระองค์สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้

        เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น
        เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่
        ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง
        พื้นที่ส่วนที่ 1 ประมาณ 30% สำหรับขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่าง ๆ
        พื้นที่ส่วนที่ 3 ประมาณ 30% สำหรับปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
        พื้นที่ส่วนที่ 3 ประมาณ 30% สำหรับปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
        พื้นที่ส่วนที่ 4 ประมาณ 10% สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทางและโรงเรือนอื่น ๆ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง

        หลังจากที่เกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนเองจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สองคือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
        1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
        2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่าย)
        3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
        4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
        5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
        6. สังคมและศาสนา

        ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สามเมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้วเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาแหล่งทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชนมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
        - เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง
        - ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
        - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)

        ปัจจุบันคนไทยทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ซึ่งหมายถึง ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ไม้ผล ฯลฯ โดยปลูกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงชนิดเดียว แล้วขายเอาเงินไปซื้ออาหารรับประทาน ซึ่งการดำรงชีพของเกษตรกรไทยยึดการอยู่รอดมิให้อดอยากไม่ได้ยึดเงินเป็นหลัก แต่หมายถึง แต่ละวันให้ดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้เงินออกจากกระเป๋าก็อยู่ได้อย่างสบาย ต่างจากสมัยบรรพกาลซึ่งแต่ละครอบครัวทำการเกษตรครบวงจร ทำให้มีอาหารให้ครบรอบเพื่อการดำรงชีพได้ครบ 12 เดือน จึงมีการปลูกพืชที่มีนาข้าวเป็นหลัก พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล เลี้ยงปลาไว้ที่บ่อ เลี้ยงเป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ ฯลฯ เป็นการเกษตรที่ครบวงจร หมายถึง อาหารโค กระบือ ได้หญ้าในไร่นา ได้ฟางหลังเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อต้องการใช้เงินจึงเอาผลผลิตจากการเพาะปลูกไปขายซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันมาก เพราะปลูกพืชเพียงชนิดเดียวที่บริโภคไม่ได้ การทำการเกษตรมีอยู่ 2 อย่างคือการทำการเกษตรอินทรีย์ และเกษตรเคมี

        การทำเกษตรอินทรีย์ คือการนำมูลสัตว์ไปโปรยหว่านเตรียมดินในพื้นที่เพาะปลูกแล้วจึงปลูกพืช ให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้ามาย่อยสลาย การทำเกษตรอินทรีย์เป็นการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อไม่ให้ดินเสื่อมเสียสมดุล เพราะภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมได้ทำการเพาะปลูกด้วยการใช้มูลสัตว์หรือเอาซากพืชที่เหลือใช้จากการเพาะปลูกทำปุ๋ยหมักมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มิได้เผาทิ้งอย่างไร้ค่า เศษฟางใบไม้ถ้าดูผิวเผินอาจมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่า แต่คนโบราณจะให้ความสำคัญกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เหลือใช้จากการเพาะปลูกเหล่านี้มาก หลังจากเก็บเกี่ยวจะมีฟางเก็บสะสมเอาไว้เลี้ยงโคกระบือ แล้วเอามูลโคกระบือไปปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของการทำเกษตรสำหรับการเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ไปด้วย รายได้จึงเกิดอย่างต่อเนื่องจากการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ได้รับประโยชน์ทั้งสองทาง
        แต่ในปัจจุบันคนไทยทำการเกษตรเชิงเดี่ยว เลือกปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ครบวงจรแล้วเอาผลผลิตไปขายให้กับพ่อค้าคนกลางและผลผลิตผลิตออกมาพร้อม ๆ กันทำให้ผลผลิตล้นตลาด ราคาผลผลิตจึงตกต่ำ มีการใช้สารเคมี ซึ่งทำให้ผลผลิตมีต้นทุนสูง เกษตรกรจึงขาดทุน พ่อค้าคนกลางกดราคา เกษตรกรพบทางตันหันหลังให้กับการเกษตรแล้วหาลู่ทางไปประกอบอาชีพอย่างอื่นพร้อมทั้งไม่ยอมให้ลูกหลานเป็นเกษตรกร เนื่องจากมีรายได้ต่ำเป็นชนชั้นล่างในสังคม อาชีพเกษตรกรไม่พบกับมั่นคงมีสภาพหนี้สินล้นตัว ที่ดินทำกินได้ถูกนำไปจำนองตามสถาบันแหล่งเงินกู้ ฯลฯ นั่นหมายถึงการล่มสลายของสถาบันเกษตรไทยที่เคยเป็นกระดูกสันหลังของชาติแล้วจะเริ่มทำให้สถาบันการเกษตรพบความยั่งยืนอย่างไร

        1. ให้มีรายได้จากการเกษตรตลอดปี เหมือนข้าราชการต้องรับเงินเดือนทุกเดือน จะต้องวางแผนปลูกไม้ผลหลาย ๆ ชนิดเพราะไม้ผลให้ผลผลิตออกมาไม่ตรงกันแต่มีตลอดปี เช่น มะขาม - ส้มให้ผลผลิตเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์, มะม่วง ให้ผลผลิตเดือนมีนาคม - เมษายน ลิ้นจี่ให้ผลผลิตเดือนพฤษภาคม น้อยหน่า เงาะ ทุเรียนให้ผลผลิตเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ลำไยให้ผลผลิตเดือนสิงหาคม ลองกอง ลางสาด
        ให้ผลผลิตเดือนกันยายน ส้มโอให้ผลผลิตเดือนตุลาคม ฯลฯ นอกจากนี้ประเทศของเรายังมีผลผลิตจากไม้ผลมากมายอีกนับหลายร้อยชนิดที่ให้ผลตลอดทั้งปี เช่น ฝรั่ง มะนาว มะพร้าว พุทรา  ถ้าเกษตรกรรู้จักการวางแผนปลูกพืชที่หลากหลาย อย่างละเล็กละน้อยจะเป็นรายได้ตลอดปี และมีผลไม้รับประทานไม่อดอยาก
        2. วางแผนทำการเกษตรผลิตอาหารให้มีกินตลอดปีโดยไม่ต้องซื้อ เช่น เกษตรกรจะต้องปลูกข้าว มีบ่อเลี้ยงปลา กุ้ง หอย กบ  ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ห่าน ฯลฯ ทุกอย่างจะเป็นอาหารสด ๆ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี
        3. ต้องลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการเกษตรทุกชนิดเช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้แล้วหันมาใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นผลิตปุ๋ยหมัก สารสกัดจากพืชที่มีในท้องถิ่น เลิกการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี สารฆ่าหญ้าทุกชนิด เพราะเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เร่งให้เกิดโรคระบาดเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปีสุขภาพอ่อนแอลง เกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัว
        4. ใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นอย่างชาญฉลาดเกิดประโยชน์คุ้มค่า เห็นคุณค่าของมูลสัตว์ ฟางข้าว ใบไม้ซังข้าวโพด แกลบหญ้าสด-หญ้าแห้ง เศษพืชผักจากตลาดสด เศษขยะ-เศษอาหาร ผลไม้ที่มีในท้องถิ่น ฯลฯ วัสดุที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่งเพราะเมื่อนำมาหมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มแล้วจะช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งเกษตรกรต้องนำเอาเศษวัสดุทุกชนิดที่มีในท้องถิ่น นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเองได้จะช่วยให้เกิดการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนได้พึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกน้อยที่สุด
        5. ปลูกพืชหลาย ๆ อย่างในพื้นที่เดียวกันให้เกิดการผสมผสาน เกื้อกูล นำเอาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด หลีกเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวเพราะมีรายได้ปีละหนึ่งครั้งผลผลิตออกมาพร้อม ๆ กันจึงถูกกดราคา ดังนั้นเพื่อชะลอราคาผลผลิตตกต่ำเพื่อให้มีอาหารกิน ต้องวางแผนทำนาให้มีข้าวกิน มีปลา เป็ด ไก่ ไว้เป็นอาหาร มีพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงไปจ่ายตลาดและมีไม้ผลหลากหลายชนิดเอาไว้บริโภค และไว้จำหน่ายให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปีมีวัวควายเอาไว้ให้กินฟางกินหญ้าในสวน และใช้แรงงานจะได้ใช้มูลสัตว์นำไปทำปุ๋ยหมักอีเอ็มโบกาฉิ เพื่อนำมาปรับปรุงบำรุงดินที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำ
        6. แหล่งน้ำถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเกษตรในฟาร์มจะต้องวางแผนหาแหล่งน้ำเพื่อให้สัตว์เลี้ยงกิน นำมาปลูกพืชผัก เพาะข้าวกล้าในฤดูฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และใช้เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาที่เป็นซุปเปอร์มาเกตมีอาหารสด ๆ ได้ตลอดทั้งปี


 

 

<< Go Back